Something about Siamese minority

09/09/2009

กฎหมายคนพิการ ฤๅ กฎหมายของ “คนอื่น”

ของคนพิการ” คนปกติโปรด…สำนึก จาก มติชน 6 พย. 2550

“เตรียมเผยโฉมทางเท้าใหม่เพื่อคนพิการ ถ.ราชดำริ” จาก http://www.newswit.com 9/08/2550

ดูเหมือนว่าหัวข้อข่าวข้างบนจะทำให้เราตั้งคำถามว่า “ของคนพิการ” ไม่ใช่ของของคนปกติ? ทางเท้าเพื่อคนพิการ เป็นทางเท้าแบบไหน? คนพิการคือใคร?

ในช่วงสามสิบปีมานี้ แวดวงการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ทั้งหลายได้เริ่มเข้าใจว่า มนุษย์มีความหลากหลาย และต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ในสังคมเดียวกัน

ในสังคมไทย ดูเหมือนจะชินกับความหลากหลาย(ส่วนจะยอมรับหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) เพราะเป็นสังคมที่ระบบชนชั้นค่อนข้างชัดเชน คำว่าชนชั้นในสังคมไทย อาจถูกแบ่งด้วยระยะความใกล้หรือห่างกับชนชั้นสูง อาจถูกแบ่งด้วยเชื้อชาติ (เช่น ไทยจีน ไทยลาว ไทยอิสาน ไทยล้านนา ไทยมุสลิม กระเหรี่ยง พม่า) อาจถูกแบ่งด้วยระยะ+โอกาสการเข้าถึงเศรษฐกิจ เงินในกระเป๋า อาจถูกแบ่งด้วยความรู้ (เช่น ความรู้กระแสหลักหรือไม่ใช่) หรือแม้แต่แบ่งด้วยลักษณะความสามารถทางกาย สติปัญญา (เช่น ถูกระบุว่าพิการหรือไม่พิการ) ต่างๆที่กล่าวมานี้เป็นการสร้างเส้นแบ่งด้วย ภาษา กระบวนการทางสังคมทั้งสิ้น ไม่มีอันไหนจริง หรือถูก หรือดีกว่าอันไหน

เมื่อมีระบบจินตกรรมชนชั้นแบบนี้ คนในสังคมมีแนวโน้มที่จะวิ่งหาชนชั้นที่ปลอดภัย เช่น เป็นชนชั้นที่ทำให้เข้าถึงทรัพยากรได้ง่าย จนทำให้คนบางกลุ่มที่วิ่งตามไม่ทัน ถูกเหวี่ยงไปอยู่ที่ชายขอบ คำว่า “คนชายขอบ” นั้นฟังดูเหมือนเป็นคนจำนวนน้อย แต่จริงๆแล้วนับได้ว่าเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม (ในแง่ปริมาณไม่ใช่เสียงดัง) คนในสังคมส่วนใหญ่ที่ต้องวิ่งหาที่อยู่ของตัวเอง ไม่มีเวลาหรือความสนใจที่จะมองว่าปัญหาของคนชายขอบเป็น “ปัญหา” เพราะหลายเรื่องถูกกด บีบ เหยียบไว้ด้วยกระแสโลกาภิวัฒน์ที่หมุนเร็วมาก ดังนั้น คนในสังคมไทย(ส่วนหนึ่ง)จึงมองว่าปัญหาของคนชายขอบเป็นปัญหาของ “คนอื่น” ที่อยู่พ้นเส้นขอบชนชั้นที่ตัวเองขีดแบ่งเอาไว้

“เช่นเดียวกันกับปัญหา ของ คนพิการ” จะสังเกตว่าการใช้ภาษาเช่นนี้ก็เป็นการมองว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของคนเฉพาะกลุ่ม การมีกฎหมายที่ระบุว่าเป็นกฎหมายคนพิการ หรือ เพื่อคนพิการก็แล้วแต่ ในแง่หนึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะคนพิการมีที่ยืนในการพัฒนา ในด้านกฏหมาย หรือคนพิการมีกฎหมายเป็นแผนที่บอกทาง (ความคิดของคุณกฤษณะ) แต่อีกแง่หนึ่ง เมื่อคนในสังคมทราบว่าคนพิการมีกฎหมายประกันสิทธิความเป็นมนุษย์ไว้แล้ว ดูเหมือนว่าปัญหาที่เหลือก็กลับไปเป็นเรื่องของคนพิการหรือ “คนอื่น” อีก(ประชากรกว่า 60ล้านคน มีคนพิการประมาณ 10เปอร์เซ็นต์—คนที่มากกว่า ย่อมมองคนที่ไม่อยู่ในกลุ่มว่าเป็นคนอื่น)

การที่เรามองว่าคนพิการเป็น “คนอื่น” ไม่ใช่พวกเรา เป็นปัญหาสำคัญ เมื่อคนอื่นกลายเป็นคนชายขอบทำให้เราจะไม่สนใจพวกเขา ไม่รู้สึกอะไรเมื่อเห็นเขาถูกเอาเปรียบหรือถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม หนทางที่จะลดการมองคนพิการเป็นคนอื่นได้ อย่างแรกเราต้องยอมรับก่อนว่า คนในสังคมมีความหลากหลาย ตั้งแต่เกิดจนตาย นอกจากสภาพกายที่ไม่มีทางเลี่ยงที่มันจะเสื่อมไปแล้ว โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน ความเจ็บป่วย ความพิการเป็นความกลัวของมนุษย์ที่หนีไม่พ้น ดังนั้นนอกจากต้องยอมรับความไม่แน่นอนตรงนี้แล้ว คนพิการต้องอยู่ในทุกๆส่วนย่อยของสังคมด้วย ในกระบวนการก่อร่างสร้างกฏหมายได้คำนึงถึงความหลากหลายตรงนี้แค่ไหน มีคนพิการในกระบวนการร่างกฎหมายเป็นพลังหรือเป็นคอมมิซซาร์ (Commissar)(Aeusrivongse, 2007)?

ขอจบด้วยการยกตัวอย่างประสบการณ์ ของอานันท์ กาญจนพันธุ์ เรื่องการยอมรับความหลากหลายของกระบวนการยุติธรรมของศาลในประเทศออสเตรเลีย “เมื่อมีการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับชนเผ่าอะบอริจิ้น จะต้องมีนักมานุษยวิทยานั่งข้างๆบังลังค์ของผู้พิพากษา เพื่อคอยแนะนำ ให้คำปรึกษาและถกเถียงกับผู้พิพากษา ลักษณะแบบนี้เรียกว่า กฎหมายเชิงซ้อน (Legal pluralism) หมายความว่าจะต้องฟังกฎอื่นๆในการพิจารณาในเรื่องเดียวกัน เช่น กฎหมายก็ว่า ชาวบ้านเข้าใจอย่างไรก็ต้องเอามาพิจารณาร่วมกัน”(Wahn-geaw et al., 2001)

อ้างอิง

Aeusrivongse, N. (2007) ‘Under Communist Conscience [in Thai, Communist Tai Samneuk]’, Matichon Weekly, 30 Nov.-6 Dec 2007, p.91-92.

Wahn-geaw, S., Tarmthai, M. and Ganjanapan, A. (2001) Memorial of Supachai Chareunwong. Centre of Feminism Studies, Chiangmai University:Midnight University.

 

 

08/09/2009

My Krungthep is your Bangkok

Filed under: General point of view — siameseminority @ 19:50

Bangkok: Krung Thep as a Krung of S-Tep!

https://siameseminority.wordpress.com/

Krung thep or Bangkok is a small city in term of her size, but she is one of the large city in term of chaos, crowded, and vibrant atmosphere.

You probably survive if you have masculine energy, able to walk for long distance, stand for some hours or even be patient enough to sit is a car for hours. However, it will be almost impossible for one who doesn’t have all those elements, or you are disabled by Krungthep, the Krung of s-tep!

Blog at WordPress.com.